ยินดีต้องรับสู่ เปอร์เซียดอนเมือง สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงแมว ทางเรามีบริการน้องแมวหาพ่อแม่ใหม่ ไว้รอท่านเชิญสอบถามได้นะค่ะน้องแมวเลี้ยงเองไม่แพงค่ะแบ่งกันดูแลสอบถามได้ 0814569140…..(=^ェ^=)….~♥

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556

แมวอาเจียน

 


เมื่อเหมียว...อ้วก ? (Cat Magazine)
คอลัมน์ Cat Care โดย สพ.ญ.ปิยกาญ โรหตาคนี

          เมื่อเจ้าเหมียวที่เราเลี้ยงไว้นั้นมีอาการอ้วกหรืออาเจียน อาจเกิดได้จากปัญหาเล็ก ๆ เช่น การกินอาหารเร็วเกินไป การกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป หรือการออกกำลังกายมากไปหลังกินอาหาร ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ไม่น่าวิตกกังวลนัก แต่นอกจากนั้นแล้ว อาการอาเจียนยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาอื่น ๆ ที่น่าวิตกกังกวลได้เช่นเดียวกัน

          อาการอาเจียน (Vomiting) คือการที่อาหารหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวย้อนกลับผ่านทางหลอดอาหารแล้วมาออกทางปาก เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหารโดยตรง อย่างเช่น โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แลอาจเป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง ไตวาย เบาหวาน หรือการติดเชื้อ เป็นต้น

          ทั้งนี้ อาการอาเจียนเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง (กินระยะเวลายาวนาน 1-2 สัปดาห์) โดยสิ่งที่เราควรเฝ้าระวังในแมวที่มีอาการอาเจียนก็คือ

ภาวะร่างกายขาดน้ำ

          อาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย น้ำหนักลด การมีเลือดปนออกมากับสิ่งที่อาเจียน ฉะนั้น ถ้าแมวมีอาการอาเจียนหลาย ๆ ครั้ง จึงควรรีบพาไปหาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษาได้ทันท่วงที

สาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน

          1. สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร

           ติเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินอาหาร
           การเปลี่ยนอาหาร
           การกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เช่น ของเล่น พลาสติก
           การเกิดลำไส้กลืนกัน
           การมีพยาธิในทางเดินอาหาร

          2. สาเหตุอื่น ๆ

           ไตวาย
           ตับวาย ถุงน้ำดีอักเสบ
           โรคเบาหวาน
           ภาวะมดลูกอักเสบ
           ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาที่ใช้รักษาเกี่ยวกับมะเร็ง หรือยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น เตตราชัยคลิน
           ตับอ่อนอักเสบ
           การติดเชื้อไวรัส
           การได้รับสารพิษ

          การวินิจฉัยสามารถทำได้จากประวัติ เช่น อาหารการกิน การฉีดวัคซีน และการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ (เพื่อหาตัวปรสิต) การเอกซเรย์ช่องท้องทั้งแบบธรรมดา หรือ กลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูว่ามีการอุดตันทางเดินอาหารหรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ การอัลตร้าซาวนด์ การส่องกล้อง และการผ่าตัดเพื่อสำรวจช่องท้อง เป็นต้น

การรักษา 

           กำจัดสาเหตุเหนี่ยวนำ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนอาหารก็ให้เปลี่ยนกลับมากินแบบเดิม และไม่ควรให้แมวกินต้นหญ้าหรือพืชใด ๆ 

           ควรงดอาหารและน้ำทางการกินจนกว่าอาการอาเจียนจะหยุด เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง แต่ให้น้ำเกลือเข้าทางใต้ผิวหนังหรือเส้นเลือดแทน และเมื่อหยุดอาเจียนแล้ว จึงค่อย ๆ เริ่มให้กินทีละเล็กทีละน้อย

           อาการอาเจียนที่เกิดแบบเฉียบพลันและแมวยังคงไม่ซึม เช่น เกิดจากกินอาหารมากเกินไป กินเร็วเกินไป วิ่งเล่นหลังกินอาหารมากไป ให้รักษาตามอาการเท่านั้นก็เพียงพอ เช่น ให้น้ำเกลือเข้าใต้ผิวหนัง ให้ยาแก้อาเจียน แล้วเฝ้าสังเกตอาการต่อเนื่อง

           ถ้าแมวมีอาการอาเจียน ร่วมกับอาการปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร อาจำเป็นต้องให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ให้ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อาเจียนและอื่น ๆ ตามเหมาะสม พร้อมทั้งต้องคอยสังเกตอาการต่องเนื่องใน 24 ชั่วโมง และหาสาเหตุที่แท้จริงของการอาเจียนให้ได้เพื่อรักษาต่อไป

วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556

เบอร์ติดต่อที่ควรรู้เพื่อน้องแมว


                                                           

โรงพยาบาลสัตว์

เขตสะพานสูง
 โรงพยาบาลสัตว์ สุวรรณชาด สะพานสูง เบอร์ติดต่อ : 02 729 5706-8

เขตพญาไท
 โรงพยาบาลสัตว์อารีย์ เบอร์ติดต่อ : 081-345-3634, 087-674-8947
 คลินิกนกและสัตว์ป่า 356/7 ถ.ศรีอยุธยา ราชเทวี พญาไท กรุงเทพฯ 10400 น.สพ.ปานเทพ รัตนากร เบอร์ติดต่อ : 0-2245-4946

เขตราชเทวี
 โรงพยาบาลสัตว์ ด็อกเตอร์ เพ็ท 1 69/14-16 ซ.ปทุมวันรีสอร์ท พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 สพ.ญ. วจีรัตน์ กังสะนันท์ เบอร์ติดต่อ : 0-2251-1338

เขตปทุมวัน
 โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ถ.อังรีดุนังค์ )
ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2218-9750-1 [เปิด 24 ช.ม]

เขตบางเขน
 โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน เบอร์ติดต่อ : 02 942 8756-59 [แผนกฉุกเฉินเปิด 24 ช.ม]
 โรงพยาบาลสัตว์ สะพานใหม่ เบอร์ติดต่อ : 02 972 4737

เขตหลักสี่
 โรงพยาบาลสัตว์ บ้านหมอรักหมา แจ้งวัฒนะ เบอร์ติดต่อ : 02 575 3370-1

เขตจตุจักร
 ศูนย์สุขภาพสัตว์เลี้ยง เพ็ทมอลล์ 2 13 ถ.เทศบาลสงเคราะห์ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 สพ.ญ.วิภาวดี ปฐมรพีพงศ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2954-2220
 สัตวแพทย์ 4 โพลีคลินิค 5-5/1 ถ.เทศบาลรังสฤษเหนือ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 สพ.ญ.อารยา ผลสุวรรณ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2591-3995

เขตคันนายาว
 คลินิกรักษาสัตว์ เพ็ทแคร์ เซ็นเตอร์ 66/14 ถ.รามอินทรา กม.7 เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 น.สพ.สง่า บุญโสด เบอร์ติดต่อ : 0-2945-8509,0-1820-4465

เขตบางซื่อ
 โรงพยาบาลสัตว์ ไกเซอร์ บางซื่อ เบอร์ติดต่อ : 02 585 7648

เขตธนบุรี
  โรงพยาบาลสัตว์ ธนบุรี บุคคโล เบอร์ติดต่อ : 02 468 3472
 โรงพยาบาลสัตว์ ประชาราษฎร์ เบอร์ติดต่อ : 02 527 5225, 02 527 5252

เขตบางขุนเทียน
 โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยง บางบอน เบอร์ติดต่อ : 02 895 3048-9

เขตบางบอน
 โรงพยาบาลสัตว์ฮาเลลูยา 114/187-188 หมู่4 ซอยธนาคารกสิกรไทย ถ.วงแหวนรอบนอก บางบอน กรุงเทพฯ 10150 น.สพ.พรชัย ชัยฤทธิ์เลิศ เบอร์ติดต่อ : 0-2899-7070-1

เขตราษฎร์บูรณะ
 โรงพยาบาลสัตว์ บางปะกอก เบอร์ติดต่อ : 02 428 2417
 โรงพยาบาลสัตว์ สุขสวัสดิ์ เบอร์ติดต่อ : 02 428 1443-4

เขตบางพลัด
 โรงพยาบาลสัตว์ พีเอส บางพลัด เบอร์ติดต่อ : 02 435 9129, 02 435 5980, 02 881 0235-6
 โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาปิ่นเกล้า โทร.0-2433-7550 [เปิด 24 ช.ม]

เขตบางกอกใหญ่
 โรงพยาบาลสัตว์ มหานคร ท่าพระ เบอร์ติดต่อ : 02 891 8377

เขตบางกอกน้อย
 โรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ อยู่ตรงแยกศิริราชเลย มีเครื่องเอ๊กซเรย์
(ถ้าไปตอนกลางคืนให้กดกริ่งหน้าประตูนะคะ) เบอร์ติดต่อ : 0 28660260, 0 28662009[เปิด 24 ช.ม]

เขตคลองสาน
 ศูนย์สุขภาพสัตว์เลี้ยง เพ็ทมอลล์ 1 124/17 ถ.กรุงธนบุรี บางลำพูล่าง คลองสาน กรุงเทพฯ 10600 น.สพ.ธานินทร์ สันติวัฒนธรรม เบอร์ติดต่อ : 0-2860-9316

เขตทวีวัฒนา
 พุทธมณฑลรักษาสัตว์ 81/82 หมู่9 ตลาดพุทธมณฑล ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 น.สพ.มงคล เทพเกษตรกุล เบอร์ติดต่อ : 0-2441-9650,0-1636-8486

เขตหนองแขม
 โรงพยาบาลสัตว์ หนองแขม เบอร์ติดต่อ : 02 808 3420-1
 โรงพยาบาลสัตว์ ด็อกเตอร์ เพ็ท 2 88/8 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 น.สพ.สมเกียรติ กังสะนันท์ เบอร์ติดต่อ : 0-2424-1305,0-2424-2927

เขตลาดพร้าว
 โรงพยาบาลสัตว์ ลาดปลาเค้า เบอร์ติดต่อ : 02 570 6060, 02 570 5939
 โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาลาดพร้าว โทร.0-2934-1407-9 [เปิด 24 ช.ม]

เขตบางกะปิ
 โรงพยาบาลสัตว์ แฮปปี้แลนด์ เบอร์ติดต่อ : 02 378 0992
 โรงพยาบาลสัตว์ บางกะปิ เบอร์ติดต่อ : 02 374 6349
 คลินิกสัตวแพทย์ กม.8 39/171 ถ.รามอินทรา กม.8 จระเข้บัว บางกะปิ กรุงเทพฯ 10230 น.สพ.อนุวัฒน์ ศีตะมโนชญ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2510-5439 [เปิด 24 ช.ม]
 คลินิกสัตวแพทย์ไดร์ฟอิน เบอร์ติดต่อ : 2646-2648 ซ.ลาดพร้าว 128/2 เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 สพ.ญ.นุศรา ไพฑูรย์วงศ์วีระ เบอร์ติดต่อ : 0-2378-0318
 โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น พี 213-215 ศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์ ลาดพร้าว คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร เบอร์ติดต่อ : 0-2377-3764

เขตบึงกุ่ม
 โรงพยาบาลบ้านสัตว์เลี้ยง 1 สุขาภิบาล 1 เบอร์ติดต่อ : 02 944 8715

เขตวังทองหลาง
 โรงพยาบาลสัตว์ ศรีวราทาวน์อินทาวน์ เบอร์ติดต่อ : 02 530 7636-8 [เปิด 24 ช.ม]

เขตตลิ่งชัน
 โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน 37/7 ถ.บรมราชชนนี กม.3 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชั่น กรุงเทพฯ สพ.ญ.สมบูรณ์ สุธีรัตน์ เบอร์ติดต่อ : 0-2887-8322-23

เขตพระโขนง
 โรงพยาบาลสัตว์ เทพารักษ์ เบอร์ติดต่อ : 02 393 7351, 02 393 7560
 โรงพยาบาลสัตว์ นครินทร์ เบอร์ติดต่อ : 02 321 4468, 02 321 9830

เขตสวนหลวง
 โรงพยาบาลสัตว์ พัฒนาการ 30 เบอร์ติดต่อ : 02 319 2360, 02 719 5925
 โรงพยาบาลสัตว์ อ่อนนุช เบอร์ติดต่อ : 02 311 1055, 02 311 6719
 โรงพยาบาลสัตว์สวนสัตว์ 709/52-53 ซ.อ่อนนุช 7/1 ถ.สุขุมวิท 77 เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 สพ.ญ.ดร.ศิรยา ชื่นกำไร เบอร์ติดต่อ : 0-2331-8146

เขตประเวศ
 โรงพยาบาลสัตว์ โรจน์นิรันดร์ 32/24 ปากซอยอุดมสุข 60 (สุขุมวิท103) ถ.สุขุมวิท หนองบอน ประเวศ กรุงเทพฯ 10250 น.สพ.เกียรติศักดิ์ โรจน์นิรันดร์ 0-2746-5370-1
 โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาศรีนครินทร์ โทร.0-2398-4314-5 [เปิด 24 ช.ม]

เขตวัฒนา
 โรงพยาบาลสัตว์ เจริญสุข 167 ซ.เจริญสุข เอกมัย ซ.5 สุขุมวิท 63 คลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 น.สพ.เศรษฐพร เกษมสุวรรณ เบอร์ติดต่อ : 0-2391-9707 , 02 391 6469
 โรงพยาบาลสัตว์ เอกมัย 916/23 สุขุมวิท55 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สพ.ญ.สุธาสนาน เจียรพร เบอร์ติดต่อ : 0-2390-0002
 โรงพยาบาลสัตว์สุขุมวิท49 120/1-2 ถ.สุขุมวิท49 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สพ.ญ.เกศินี ไกรครุฑรี เบอร์ติดต่อ : 0-2392-0291
 เพ็ท ไดเร็ค คลินิก ห้อง 3A เรคเกตคลับ ซ.พร้อมศรี 1 สุขุมวิท39 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ สพ.ญ.ศิรินรัตน์ ศิลปานันทกุล 0-2712-8080-2,0-1313-5087
 โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สุขุมวิท 55 โทร. 0-2712-6301 ต่อ 200 [เปิด 24 ช.ม]

เขตดุสิต
 โรงพยาบาลสัตว์ ถ. สุโขทัย สวนจิตร เบอร์ติดต่อ : 02 243 0587
 โรงพยาบาลสัตว์ ราชวิถี เบอร์ติดต่อ : 02 243 5011

เขตห้วยขวาง
 คลินิกรักษาสัตว์ จัสโก้ สยามจัสโก้ รัชดา ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 น.สพ. สุรพงษ์ อาทิตย์วงศ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2548-4694-8 ต่อ 225

เขตบางนา
 โรงพยาบาลสัตว์บางนา : 232/2 ถนนบางนา-ตราด กม.3
(ซอยทางเข้าตรง Big C บางนา ขับไปเรื่อยๆ ร้านอยู่ทางขวามือ)
เบอร์ติดต่อ : 02-744-1663 / 02-744-1899 [เปิด 24 ช.ม]

เขตลาดกระบัง
 สถานพยาบาลสัตว์ บ้านสัตวแพทย์ 19/3 หมู่ 1 ตรงข้ามตลาดหัวตะเข้ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 น.สพ.ศักดิ์ชัย เรือนเพชร เบอร์ติดต่อ : 0-2739-0899, 0-1689-4742

เขตมีนบุรี
 เพ็ทเฟรนด์ รักษาสัตว์ 55 หมู่17 ซอยหน้าห้างโลตัส ถ.สุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 น.สพ.ศักดิ์ชัย เรือนเพชร เบอร์ติดต่อ : 0-2540-6920, 0-1689-4742

สมุทรปราการ
 โรงพยาบาลสัตว์ บางพลี เบอร์ติดต่อ : 02 752 2223, 02 7522386
 โรงพยาบาลบ้านสัตว์เลี้ยง 2 สำโรงเหนือ เบอร์ติดต่อ : 02 759 1553

นนทบุรี
 โรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพ-นนทบุรี เบอร์ติดต่อ : 02 965 1442-3, 02 642 1299
 โรงพยาบาลสัตว์ ไกเซอร์ 2 รัตนธิเบศร์ เบอร์ติดต่อ : 02 594 3308
 โรงพยาบาลสัตว์ แมวหมาร่าเริง เบอร์ติดต่อ : 02 9644288-9
 โรงพยาบาลสัตว์ รัตนาธิเบศร์ 103/3-4 เชิงสะพานพระนั่งเกล้า ถ.รัตนาธิเบศร์ ไทรม้า เมือง นนทบุรี 11000 น.สพ.พิเศษ อัศวหน้าเมือง เบอร์ติดต่อ : 0-2921-8103 [เปิด 24 ช.ม]
 LOVELY PET 68/118 ถ.รัตนาธิเบศร์ บางกระสอ เมือง นนทบุรี 11000 น.สพ.สรัช คงเดชเกษมสุข เบอร์ติดต่อ : 0-2969-8486
 คลีนิคบ้านหมอรักหมา สาขาแจ้งวัฒนะ เปิดบริการ 24 ชม. เบอร์ติดต่อ : 02-575-3370-1 [เปิด 24 ช.ม]
 โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาแจ้งวัฒนะ โทร.0-2962-7028 [เปิด 24 ช.ม]

ปทุมธานี
 โรงพยาบาลสัตว์ ปทุมธานี เบอร์ติดต่อ : 02 975 7272-8
 โรงพยาบาลสัตว์ มาลีวัลย์ คลอง 2 เบอร์ติดต่อ : 02 996 2662


คลินิก และคลินิกพิเศษ

a. บริการตรวจสุขภาพ

ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน

1. หน่วยระบบสืบพันธุ์ วันจันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 15.30 น.
2. หน่วยโรคระบบประสาท วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.30 น.
3. หน่วยโรคหัวใจ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
4. หน่วยโรคผิวหนัง วันอังคาร เวลา 08.30 – 15.30 น.
วันพุธ พฤหัสบดี และ ศุกร์ 09.00 – 12.00 น.
5. หน่วยโรคตา วันอังคาร เวลา 08.30-15.30 น. วันพุธ และ ศุกร์ 08.30 – 12.00 น.
6. หน่วยเนื้องอก วันจันทร์ และ พุธ 09.00 12.00 น.
7. หน่วยกล้องส่องตรวจ วันพุธ เวลา 13.00 – 15.30 น. วันพฤหัสบดี 09.00 – 15.30 น.
8. หน่วยโรคไตและขับถ่ายปัสสาวะ วันจันทร์ , พุธ และ ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
9. หน่วยสัตว์เลี้ยงพิเศษ วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วันศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
10. หน่วยสัตว์น้ำ วันอังคาร และ พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 12.00 น.
11. หน่วยโรคแมว วันอังคาร เวลา 08.30 – 15.30 น. วันพฤหัสบดี เวลา 09.00 – 12.00 น.
12. หน่วยธนาคารเลือด วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วันศุกร์ และเสาร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
13. หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- หน่วยฝังเข็ม วันจันทร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
- หน่วยธาราบำบัด วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วัน ศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
* หมายเหตุ ฝ่ายคลีนิคพิเศษเปิดบริการช่วงวันหยุดราชการ และวันนักขัตฤกษ์


b. หน่วยคลินิกเฉพาะทาง

คลินิกโรคหัวใจ วันจันทร์-ศุกร์ 09.00-11.00 น.
คลินิกโรคตา วันอังคาร, พุธ 08.30-15.30 น. วันศุกร์ 08.30-11.00 น.
คลินิกโรคระบบสืบพันธุ์ วันจันทร์และพฤหัสบดี 09.00-15.30
คลินิกโรคผิวหนัง วันอังคาร,พุธและพฤหัสบดี 09.00-11.00 น.
คลินิกทันตกรรม วันอังคารและพุธ 08.30-15.30 น.
คลินิกโรคระบบประสาท วันจันทร์-ศุกร์ 13.00-15.30 น.
คลินิกฝังเข็ม วันศุกร์ 09.00-11.30 น.
คลินิกกล้องส่องตรวจภายใน วันจันทร์ 09.00-15.30 น.
วันพฤหัสบดี 13.00-15.30 น.

c. คลินิกทั่วไป

หน่วยสัตว์ป่วยนอก : ให้บริการด้านการตรวจรักษาโรคทั่วไป ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู และการรักษาสัตว์ทั่วไป รวมทั้งการป้องกันโรค
หน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤต : ให้บริการด้านการตรวจสัตว์ป่วยภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤตและการปฏิบัติการกู้ชีพ
หน่วยรังสีวินิจฉัย : ให้บริการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำขึ้น
หน่วยศัลยกรรม : ให้บริการผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) ออร์โธปิดิกส์ (ศัลกรรมกระดูก) และการผ่าตัดทางระบบประสาท
หน่วยสัตว์ป่วยใน : ให้บริการรับฝากสัตว์ป่วยที่จำเป็นต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด กรณีที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง แต่การรับจำนวนจำกัดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายสัตวแพทย์
ศูนย์กิจกรรมสัตว์เลี้ยง Vet. Place : ให้บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจรได้แก่ Pet shop, Grooming, หนังสือเกี่ยวกับสัตว์บริการรถรับ-ส่งสัตว์รวมถึง ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และมุมกาแฟ

เวลาทำการ
วันจันทร์ถึงพฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น.
วันศุกร์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.30 – 11.00 น.
ทุกวัน เวลา 18.00 – 20.00 น.

โทร. 029428456-59 ฉุกเฉินให้บริการ 24 ชม.



Source : คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                        


สุดยอดเทคนิคการให้อาหารน้องแมว!!!



สุดยอดเทคนิคการให้อาหารน้องแมว!!!



อ่าฮ่า!!! คุณกำลังประสบปัญหานี้ใช่รึไม่??? น้องแมวกินอาหารไม่เป็นเวลา น้องแมวเมียวเอาแต่กินอาหารจนอ้วนกลมฉุเกินไป แต่เพื่อนๆ ไม่ต้องกังวันไปนะคะ
 neko08  icon_heart-move  เอาเทคนิคการให้อาหารน้องแมวที่ถูกต้องมาบอกเพื่อนๆ จ้าาา เลิศสุดๆ อ๊ะ
เอาละเรามาดูกันดีกว่าว่าเทคนิควันนี้มีอะไรกันบ้าง !!! cat-love
cat-star-purple  ควรให้ชามอาหารและน้ำของแมวอยู่ห่างจากทางเดินเท้าและไม่มีเสียงเอะอะรบกวน
cat-star-purple  สถานที่ที่วางชามอาหารและน้ำควรอยู่ในที่ที่น้องแมวสามารถเข้าถึงได้สะดวก
cat-star-purple  วางผ้า หรือหนังสือพิมพ์ใต้ชามอาหารและน้ำ เพื่อจะได้ทำความสะอาดง่ายๆ
cat-star-purple ไม่ควรเปลี่ยนที่วางชามอาหารหรือน้ำบ่อยเกินไป เปลี่ยนเมื่อจำเป็นเท่านั้น
cat-star-purple  ควรทำให้บริเวณที่แมวทานอาหารสะอาด และมีน้ำสะอาดตั้งไว้อยู่เสมอ
cat-star-purple  ลูกแมวที่มีอายุ 6 ถึง 8 สัปดาห์ ควรให้อาหาร 3 ครั้งต่อวัน
cat-star-purple  แมวจะใช้เวลาทานอาหารไม่เกิน 20 นาที ควรเก็บชามอาหารทันทีที่แมวทานเสร็จ ฝึกให้แมวรับประทานอาหารให้เป็นเวลา
cat-star-purple  สำหรับลูกแมวที่เพิ่งหย่านมและเป็นแมวพันธุ์เล็ก อาจใส่น้ำลงไปในอาหารเม็ดแบบแห้งในช่วงแรกเพื่อให้ทานอาหารได้ง่ายขึ้น โดยเมื่อลูกแมวเริ่มโตขึ้น ค่อยๆ ลดปริมาณน้ำในอาหารลง หรือให้เป็นอาหารแบบเปียกแทน ถึงแม้ว่าจะให้อาหารแบบเปียก ก็ต้องเตรียมน้ำสะอาดให้พร้อมอยู่เสมอ
cat-star-purple  เมื่อแมวอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ควรเปลี่ยนการให้อาหารเป็น 2 ครั้งต่อวัน
cat-star-purple  ควรตรวจสอบปริมาณอาหารแนะนำสำหรับแมวแต่ละช่วงวัยและสายพันธุ์ที่ฉลากอาหาร เพื่อให้แมวได้รับปริมาณอาหาร ที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้มีน้ำหนักตัวมากเกิน หรือสอบถามได้จากสัตวแพทย์
รู้ไว้ใช่ว่าลูกแมวที่ถูกพาเข้าบ้านใหม่มักจะเกิดความเครียด ซึ่งส่งผลต่อระบบ ทางเดินอาหาร ดังนั้นถ้ามีการเปลี่ยนอาหารเกิดขึ้น ควรผสมอาหาร ใหม่เข้าไปในอาหารเดิมทีละน้อย และค่อยๆ ลดปริมาณอาหารเดิมลงจนเป็นอาหารใหม่ทั้งหมด ทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 7-10 วัน เพื่อป้องกันปัญหาระบบทางเดินอาหาร
วิธีนี้สามารถใช้ได้กับเวลาที่เปลี่ยนจากอาหารแบบเปียกเป็นอาหารแบบแห้งด้วยนะคะ 

โรคพยาธิหนอนหัวใจ



                                                               
   
                                                   โรคพยาธิหนอนหัวใจ

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวคืออะไร
โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวมีความรุนแรงและสามารถทำให้แมวป่วยตายได้ โรคนี้เกิดจากพยาธิ Dirofilaria immitis ซึ่งเป็นพยาธิชนิดเดียวกันกับพยาธิที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคพยาธิหนอนหัวใจในสุนัข แต่จากรายงานการวิจัยเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า พยาธิชนิดนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่รุนแรงและทำให้แมวตายอย่างปัจจุบันทันด่วนได้

แมวเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้อย่างไร
แมวสามารถเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจได้ด้วยวิธีเดียวกับที่สุนัขเป็น ยุงคือพาหะของโรคพยาธิหนอนหัวใจ ด้วยการกัดกินเลือดจากสุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้ หลังจากนั้นจึงแพร่เชื้อ (ตัวอ่อนระยะติดต่อ)ไปยังสุนัข หรือแมวอีกตัวหนึ่ง เมื่อยุงไปกัดกินเลือด

แมวที่อยู่อย่างไร ที่ไหนจึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจ
ที่ใดก็ตามที่สุนัขมีความเสี่ยงต่อการติดโรค เช่น อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโรค หรือมีสุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจอยู่ร่วมด้วยโดยไม่ได้รับการรักษา ทำให้เป็นตัวกักโรค สามารถเป็นแหล่งแพร่เชื้อให้กับสุนัขและแมวตัวอื่นๆ ได้ แมวที่อยู่ภายในบ้านก็สามารถติดโรคนี้ได้เช่นกัน ในต่างประเทศพบว่าแมวกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ที่อยู่ร่วมกับสุนัข หรืออยู่ในบริเวณที่มีสุนัขป่วยด้วยโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ สำหรับในประเทศไทยการรายงานพบโรคพยาธิหนอนหัวใจยังมีน้อย แต่สุนัขที่ป่วยด้วยโรคพยาธิหนอนหัวใจมีมาก

อาการของโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวเป็นอย่างไร
อาการของแมวที่พบว่าเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจที่สามารถพบได้บ่อยได้แก่ :

ไอ
หายใจลำบาก
อาเจียน
เงื่องหงอย ซึม
น้ำหนักตัวลดลง
อาการอื่นๆ ที่สามารถพบได้ :

หมดสติ
ชัก
ตายอย่างกระทันหัน (sudden death)
อาการเหล่านี้อาจจะพบได้ในแมวที่ป่วยด้วยโรคอื่นๆ เหมือนกัน ที่ดีควรนำแมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย

โรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวรักษาได้อย่างไร
ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้สำหรับการรักษาโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมว

มีวิธีการป้องกันการเป็นโรคพยาธิหนอนหัวใจในแมวได้อย่างไร
การป้องกันเป็นวิธีการที่ดีทีสุด ควรปรึกษาสัตวแพทย์

การฝึกนิสัยแมว

                         
              
                การฝึกนิสัยแมว

การฝึกนิสัยขับถ่ายให้แมว 
                                 โดยปกติแมวจะเรียนรู้นิสัยการขับถ่ายจากแม่ของมันเอง โดยถ้าอยู่นอกบ้านก็จะ พยายามคุ้ยเศษฟางหรือเศษดินทรายมากลบอุจจาระของมันโดยธรรมชาติ เพราะแมว เป็น สัตว์ที่รักสะอาดอยู่แล้ว ถ้าอยู่ในบ้านเราก็แค่เตรียมถาดใส่ทรายที่สะอาดให้มัน โดยในครั้งแรกๆ เมื่อเห็นมันกำลังถ่ายเลอะเทอะก็จับมันมาไว้ที่ถาดทราย สักพัก มันก็จะชิน คราวต่อไปมันก็จะมา ใช้บริการส้วมของมันเองได้โดยอัตโนมัติ 

จะทำยังไงเมื่อแมวถ่ายไม่เป็นที่
                                  ถ้าแมวไม่ยอมถ่ายในภาชนะที่เราเตรียมไว้ให้ ก็อาจเป็นเพราะว่าถาดนั้นเคยถูก ใช้มาแล้ว และไม่ได้รับการทำความสะอาดที่ดีพอ การลงโทษโดยตีมันแรงๆ หรือตวาดใส่ ไม่ได้ช่วยให้เกิดผลดีเลย กลับทำให้แมวไม่เข้าใจว่าเราตีมันทำไม นอกจากจะเป็นการทำให้มันระแวงในตัวเจ้าของแล้ว คราวต่อไปมันก็ยังคงทำ เลอะเทอะเหมือนเดิม 

การสอนให้แมวรู้จักชื่อของมัน 
                 ถ้าเราตั้งชื่อที่เรียบง่ายและมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวให้ลูกแมวจะจำได้ดีกว่า ถ้ามีแมวอยู่ในบ้านหลายตัว เราไม่ควรตั้งชื่อที่มีเสียงคล้ายกัน เช่น คิตตี้ บิลลี่ ลิลลี่ สาลี่ มีมี่(นามสมมุติ) เพราะแมวแยกเสียงเหล่านี้ไม่ออก สุดท้ายก็กลายเป็นว่า ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร ก็ไม่มีตัวไหนมาหาเราเลย เราต้องเรียกชื่อมันก่อนอาหาร แต่ละมื้อเพื่อให้เสียงเรียกชื่อนั้นสัมพันธ์กับรสชาติอาหารที่มันกำลังเอร็ดอร่อยอยู่ ในระยะต้นๆสัญชาติญาณ การอยากรู้อยากเห็นของลูกแมวจะทำให้มันพร้อมจะตอบสนอง ต่อเสียงเรียก ซึ่งเราควรจะตอกย้ำให้มากขึ้นด้วยการให้ความสนใจต่อมันทุกครั้งที่มันเข้ามาหา

 

สาเหตุของการเกาและเลียในแมว


     
                    สาเหตุของการเกาและเลียในแมว
               บทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจโรคอันเป็นสาเหตุของการเกาและเลียในแมว อาการแพ้นั้นมีอยู่หลายโรค ที่เป็นสาเหตุให้แมวของคุณเกา เลีย ดึงขน หรือผิวหนังแดง เหล่านี้ได้แก่ โรคขี้เรื้อน โรคมะเร็ง ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมและการติดเชื้อ พร้อมด้วยการวินิจฉัยโรคและการรักษาได้ถูก สรุปไว้ดังแสดงในตารางด้านล่างต่อไปนี้

โรค
ลักษณะของโรค
อาการของโรค
การวินิจฉัยโรค
การรักษาโรค
ภาวะภูมิแพ้ทางพันธุกรรม          ( การอักเสบของผิวหนัง) : Atopy( Allergy inhalant Dermatitis )
การแพ้เกิดจากการที่สัตว์หายใจเอาละอองเกสร ดอกไม้ ตัวหิด และเชื้อราเข้าไป
เลียหรือแทะเท้า มีอาการอักเสบที่หู มีอาการคัน ผิวหนังเป็นผื่นแดง อาจจะเกิดการติดเชื้อหรือ พุพอง
ตรวจอาการอักเสบของผิวหนังชั้นในและซีรัม
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่สัตว์แพ้ ใช้พวกsteroids กรดไขมัน ส่วนเพิ่มเติม : ใช้ "bactin" antihistamines แชมพู " การรักษาด้านภูมิคุ้มกัน
ภาวะแพ้อาหาร(Food Allergy)
แพ้อาหารบางชนิด
เลียหรือแทะเท้า มีอาการอักเสบที่หู มีอาการคัน ผิวหนังเป็นผื่นแดง อาจจะเกิดการติดเชื้อหรือพุพอง
จำกัดอาหาร
เปลี่ยนอาหาร
การแพ้และระคายเคืองต่อสิ่งที่มาสัมผัสผิวหนัง ( Allergic and Irritan Contact Dermatitis)
แพ้สิ่งที่ไปสัมผัส เช่น พวกขน สัตว์หรือพลาสติก
ผิวหนังแดงและบวมหรือเป็นแผลพองที่บริเวณผิวหนังที่มีขนบางๆ เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง คัน
เอาผ้ามาปิดแผล ป้องกันการติดเชื้อ
กำจัดสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งที่แพ้ ใช้ steroids antihistamines
ผิวหนังอักเสบอันเกิดจากหมัด(Flea Allergy Dermatitis: Flea Bite Hypersensitivity
น้ำลายของหมัด
ผิวหนังแดง มีอาการคันอย่างรุนแรง ขนร่วง บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการอักเสบ หรือพุพอง
การพบตัวหมัด การทดสอบการตอบสนองต่อผิวหนังชั้นใน
การควบคุมหมัดในสภาพแวดล้อมและบนตัวสัตว์ การใช้ steroids และ antihistaminesสำหรับอาการคัน
โรคขี้เรื้อนตัวไร( Sarcoptic mange)
การติดเชื้อจากตัวไรชนิด "Sarcopes"
เกิดอาการคันอย่างรุนแรง
ผิวหนังลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งตัวหมัดชนิดนี้หาพบยากมาก
Amitraz dips , ivermectin
โรคขี้เรื้อนขุมขน( Demodectic mange or red mange)
การติดเชื้อจากตัวหมัดชนิด Demodex เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันโรคผิดปกติ
ขนร่วง ผิวหนังเป็นสะเก็ด แดง มีตุ่มหนองเล็กๆที่ผิวหนัง มีอาการคัน
ผิวหนังถลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
ไม่ใช้สาร steroids สามารถใช้ amitraz (mitaban) dips
โรค Cheyletiella ( Rabbit Fur Mite) Mange
เกิดการติดเชื้อจากตัวหมัด Cheyletiella
คัน ผิวหนังเป็นสะเก็ด
ผิวหนังถลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งตัวหมัดชนิดนี้หาพบยากมาก
Permethrin (ใช้ในสุนัขเท่านั้น หรือ Pyrethin
โรคขี้เรื้อนในแมว (Notoedric mange in cats)
เกิดการติดเชื้อจากตัวหมัด Notodres
เกิดอาการคันอย่างรุนแรง
ผิวหนังถลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
Lime sulfer dips , Ivermectin
โรคกลากวงเดือน (Ring worm)
เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราบางชนิด
ขนร่วง ผิวหนังเป็นสะเก็ด ผิวหนังจะมีบริเวณเป็นเปลือกแข็ง คันบ้างเล็กน้อย
การเพาะเชื้อ
Micronazole , lime sulfer dips, ให้กิน griseofulvin หรือ itraconazole
การติดเชื้อจากยีสต์ (Yeast Infection)
โดยส่วนใหญ่จะติดเชื้อจาก Malassezia หรือแอบแฝงมากับโรคอื่น
คัน ผิวหนังแดง แห้ง
ผิวหนังถลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ การเพาะเชื้อ
รักษาโรคแทรกซ้อน ให้กิน ketoconazole , miconazole อาบน้ำด้วยแชมพู
ตุ่มพุพอง : ผิวหนังชื้นแฉะ( Hot spots : acute moist dermatitis )
เป็นผลมาจากการถูกหมัดกัด โรคขี้เรื้อนและโรคต่อมทวารหนัก การได้รับการทำความสะอาดไม่เพียงพอ การติดเชื้อที่หู ดอกหรือฝักของต้นไม้ที่ติดตามขน การอักเสบของข้อต่อ
ขนร่วง ผิงหนังแดง แฉะจะทำให้เกาและเลีย
การตรวจและซักประวัติ
การรักษาอาการแทรกซ้อน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็น ใช้ Demeboro solution ให้กินหรือทา antibiotic หรือ steroids
เนื้องอกร้ายของต่อมน้ำเหลืองของผิวหนัง(Cutaneous Lymphoma)
เป็นโรคมะเร็งผิวหนังที่ไม่ค่อยพบ
คัน ผิวหนังแดง เกิดตุ่มเล็กๆ แผลเปื่อย
ตัดเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นโรคไปทำการตรวจวินิจฉัย
โดยปกติแล้วจะไม่ไม่ได้รับการตอบรับในการรักษา
เหา ( Lice )
การติดเชื้อจากพวกเหา
มีอาการไม่แน่นอน : คัน ขนร่วง หยาบ ผิวหนังแข็ง
พบตัวเหาหรือไข่เหาบนผิวหนังหรือขน
Permethrin (เฉพาะสุนัขเท่านั้น) หรือ Pyrethrin , ivermectin
การอักเสบของผิวหนังที่มีรอยพับย่น(Skin Fold Dermatitis)
เกิดบริเวณที่มีการพับของผิวหนัง เช่น บริเวณริมฝีปาก ปากช่องคลอด หน้า ( ในสุนัขพันธุ์ bulldog)
ผิวหนังแดง แฉะ คัน
การตรวจร่างกาย การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อหาหลักฐานของการติดเชื้อ
การรักษาการติดเชื้อ ทำความสะอาดทุกวัน ในกรณีรุนแรงควรได้รับการผ่าตัดทำศัลยกรรม
พยาธิปากขอ(Hookworms )
เกิดติดเชื้อจากตัวอ่อนของพยาธิปากขอ
บวมแดง โดยปกติจะเป็นที่เท้า อุ้งเท้าขรุขระ การยาวของเล็บผิดปกติ คัน
ตรวจร่างกายและตรวจประวัติ มักได้รับการสุขาภิบาลที่ไม่เพียงพอ
รักษาการติดเชื้อของระบบลำไส้ ย้ายสัตว์ไปยังสภาพแวดล้อมใหม่
ผิวหนังหนาอักเสบจากการเลีย แทะ( neurodermatitis : acral lick Dermatitis (dogs) , Psychogenic dermatitis (cats))
การเลียมีผลมาจากภาวะการบอบช้ำทางจิตใจ ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความเครียด (เช่น การมีสมาชิกใหม่เข้ามาในบ้าน)
ผิวหนังแดง ขนร่วง เป็นวง โดยปกติจะเกิดที่ขาหน้าในแมว : ขนร่วง ผิวหนังแฉะบริเวณท้อง ขาหนีบ หลัง
ตรวจสอบหาสาเหตุอื่น และดูประวัติสัตว์เป็นสำคัญ
ช่วยลด ผ่อนคลายอาการหรือสาเหตุที่ซ่อนเร้นอยู่ เช่น ความวิตกกังวล
การติดเชื้อจากแบคทีเรีย(Bacteria infection)
มักเป็นผลมาจากโรคหรือภาวะอื่น
ผิวหนังแดง มีตุ่มหนองเล็กๆตามผิวหนัง บวม บางที่อาจมีอาการคัน
การตรวจร่องรอยด้วยกล้องจุลทรรศน์ การเพาะเชื้อ
การรักษาอาการแทรกซ้อน ให้กินหรือ /และทา antibiotic
หมัดในหู(Ear Mites)
การติดเชื้อพวก Otodectes
คันอย่างรุนแรงที่หู แดง มีขี้หู
ผิวหนังถลอกและตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
ทำความสะอาดหู และใช้ยาพวก pyrethrin (Ear miticide)
Pelodera Dermatitis
การติดเชื้อโดยบังเอิญจากพวกพยาธิตัวอ่อนของหนอนพยาธิที่บริเวณฟางข้าวหรือวัตถุอื่นๆ
อาการคันอย่างรุนแรง ผิวหนังแดง
ผิวหนังถลอก ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
ย้ายที่นอน อาบน้ำด้วยแชมพูที่มีสารป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ใช้สารพวก steroids ถ้าจำเป็น ในการควบคุมอาการคัน
Chiggers ( Harvest mites)
เป็นโรคที่เกิดตามฤดูกาล มีสาเหตุมาจากตัวอ่อนของพวกChigger
คัน บวม ปกติจะเกิดที่เท้า ท้อง และตามรอยพับที่ฐานของหู
สังเกตเห็นตัวอ่อนของหมัด การตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
Permethrin (เฉพาะสุนัขเท่านั้น ) หรือ Pyrethrin