แมวเปอร์เซีย เป็นสัดเราจะดูอย่างไร
แมวเปอร์เซีย ตัวเมียจะแสดงอาการความรักใคร่ทางกายโดยการทิ้งตัวนอนลงบนพื้นแล้วเอาหลังถู
ไปถูมา หรือถ้าเราเอามือลูบบั้นท้ายเบาๆมันจะยกบั้นท้ายสูงขึ้นพร้อมกับการยันขาหลังทั้งสองข้าง
เป็นการเตรียมพร้อมให้ตัวผู้เข้ามาผสมพันธุ์ ดังนั้นบางครั้งการผสมพันธุ์กันเองระหว่างพ่อพันธุ์แมวเปอร์เซีย
กับแม่พันธุ์ แมวเปอร์เซีย จะไม่ติดลูกอาจจะเป็นพราะว่า แมวเปอร์เซีย ตัวเมียนอนตะแคงหรือไม่ได้อยู่ใน
ท่ายันขาที่ถูกต้อง ถ้าเราจะช่วยให้มันผสมพันธุ์กัน
ได้ ต้องจับให้ แมวเปอร์เซีย ตัวเมียให้อยู่ในท่าเตรียมพร้อมแล้วให้ตัวผู้ขึ้นขี่โดยตัวผู้จะขึ้นไปงับคอ แมวเปอร์เซีย ตัวเมียแล้วมันจะขึ้นคร่อมทันที เราจะต้องจับขาหลังของแมวตัวเมียให้อยู่ในท่ายัน(คล้ายๆกับแมวทำท่าโก้งโค้ง) ถ้าท่าทางถูกต้องตัวผู้สามารถสอดอัวยวะเพศเข้าไปและปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศ แมวเปอร์เซีย ถ้าสำเร็จ แมวเปอร์เซียตัวเมียจะส่งเสียงร้องแล้ว แมวเปอร์เซีย ตัวผู้จะกระโดดถอยหนีพราะว่า แมวเปอร์เซีย ตัวเมียจะข่วนเอา แล้ว แมวเปอร์เซีย ตัวเมียจะไปนอนกลิ้งอย่างมีความสุขสักพักมันก็จะไปเลียอวัยวะเพศของมันเพื่อทำความสะอาด
แมวเปอร์เซีย ตัวเมียบางตัวจะมีอาการส่งเสียงร้องตลอดเวลาเพื่อต้องการผสมพันธุ์ บางตัวถ้ามี แมวเปอร์เซีย ตัวผู้มันจะเข้าไปอยู่ใกล้ๆแล้วทำท่าโก้งโค้งหรือกลิ้งไปมา บางตัวก็พยายามเดินเฉียดตัวผู้เพื่อให้ตัวผู้ได้กลิ่นสัด และบางตัวยิ่งสังเกตง่ายเข้าไปใหญ่คือปรกติมันอาจจะไม่ถูกกันส่งเสียงขู่เวลาเจอหน้ากันเสมอ แต่ถ้าอยู่ๆ แมวเปอร์เซีย ตัวเมียให้ แมวเปอร์เซีย ตัวผู้เข้าใกล้ได้ก็แสดงว่า แมวเปอร์เซีย ตัวเมียเป็นสัดแน่ๆ
แมวเปอร์เซีย ตัวเมียเมื่ออายุตั้งแต่ 8 -10 เดือนขึ้นไปสามารถพร้อมที่ผสมพันธุ์ได้แล้ว แต่นักเพาะพันธุ์ แมวเปอร์เซียโดยทั่วๆไปจะเริ่มผสมพันธุ์มันอายุต้องอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป และไม่ควรให้มันมีลูกมากกว่า 2 ครอกต่อปี ควรทิ้งระยะห่างไม่น้อยกว่า 3 เดือนหลังจากลูกครอกแรก ลูกแมวปอร์เซียจะย้ายบ้านไปอยู่กับเจ้าของใหม่ควรมีอายุไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน นั่นก็คือการฉีดวัคซีนและการถ่ายพยาธิครบถ้วนแล้ว
|
ยินดีต้องรับสู่ เปอร์เซียดอนเมือง สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยงแมว ทางเรามีบริการน้องแมวหาพ่อแม่ใหม่ ไว้รอท่านเชิญสอบถามได้นะค่ะน้องแมวเลี้ยงเองไม่แพงค่ะแบ่งกันดูแลสอบถามได้ 0814569140…..(=^ェ^=)….~♥
วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556
แมวเปอร์เซีย เป็นสัดเราจะดูอย่างไร
ราศีบอกนิสัย…สไตล์แมวเหมียว
ราศีบอกนิสัย…สไตล์แมวเหมียว
สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้มาพบกับแม่หมอแมวกันอีกแล้วนะคะ
จะพาเพื่อนไปรู้จักกับนิสัยของแต่ละราศีกันค่ะ ราศีไหนจะเป็นยังไง เข้ากับราศีไหนได้บ้าง (แอบรัก แอบปลื้มใครอยู่ก็อย่าพลาด !!!) ตามมาดูกันได้เล๊ยยย…
จะพาเพื่อนไปรู้จักกับนิสัยของแต่ละราศีกันค่ะ ราศีไหนจะเป็นยังไง เข้ากับราศีไหนได้บ้าง (แอบรัก แอบปลื้มใครอยู่ก็อย่าพลาด !!!) ตามมาดูกันได้เล๊ยยย…
เป็นไงบ้างค่าาาา โดนกันรึเปล่าเอ่ย??? ต้องลาเพื่อนๆ ซะละ แล้วพบกันใหม่นะคะ แต่จะเป็นเรื่องอะไรต้องคอยติดตามหน้าเว็บเช่นเคยค่ะ บ๊ายยย…บายยย
วันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2556
การเช็ดตาแมวเปอร์เซีย
การเช็ดตาแมวเปอร์เซีย
แมวพันธุ์เปอร์เซีย ตัวที่จมูกเขาบี้มักจะมีปัญหาเรื่องน้ำตาและ
ขี้ตามาก ถ้าเราไม่ได้ทำการเช็ดให้ทุกวัน มันจะเป็นคราบเหลืองๆดำๆไม่น่าดู และถ้านานๆเช็ดสัก
ครั้งอาจจะทำให้เป็นแผลที่ร่องน้ำตาได้ วิธีง่ายและประหยัดมากๆ (แมวไฮโซ ไม่แนะนำให้ใช้)
?
1. สำลีกับน้ำอุ่นๆ ให้จุ่มสำลีในน้ำอุ่นๆแล้วบีบให้หมาดๆน้ำแล้วนำไปเช็ดรอบๆดวงตา เมื่อขี้ตาหมดแล้วก็นำสำลีแห้งเช็ดเบาๆอีกรอบหนึ่งเพื่อทำให้มันแห้ง ถ้ามีแป้งที่ป้องกันคราบน้ำตาก็ใส่ให้เขาไป รู้สึกว่าแป้งประเภทนี้เท่าที่เคยใช้ก็ทำให้คราบน้ำตาน้อยลงมากและอัตราการเกิดน้ำตาจะน้อยลง แต่แป้งก็แพงมากตามคุณภาพของมันเหมือนกัน แมวเปอร์เซียร์ ที่เลี้ยงประกวดมักจะใช้แป้งประเภทนี้ แต่ขอร้องอย่าใช้แป้งมันให้กับแมวเด็ดขาด
2. มีสัตวแพทย์บางคนแนะนำให้ใช้น้ำเกลือที่ขายกันเป็นขวด(ห้ามใช้เกลือแกงเด็ดขาด) แล้วนำมันมาผสมน้ำให้เจือจางก็สามารถใช้ได้เหมือนกัน เท่าที่เคยลองก็ไม่มีปัญหาอะไรกับดวงตาแมว แต่บางคนบอกว่ามันจะแสบถ้าเข้าตาซึ่งเวลาเช็ดตาเราก็เช็ดรอบดวงตาไม่ใช่หยอดตา แต่แสบจริงหรือเปล่าผู้เขียนยังไม่เคยหยอดตาตัวเองซักที
3. วิธีนี้ไม่ประหยัดเพราะต้องซื้อมา ก็คือการซื้อน้ำยาเช็ดคราบน้ำตา แต่แพงมาก สรรพคุณของมันก็ช่วยขจัดรอยคราบน้ำตา ก็ซื้อมาใช้สำหรับแมวเปอร์เซียที่เช็ดด้วยน้ำธรรมดาแล้วมีรอยคราบอยู่เยอะ แต่ถ้าให้ดีให้เช็ดด้วยน้ำอุ่นแล้วตามด้วยแป้งขจัดคราบน้ำตาจะได้ผลมากกว่าไม่เปลืองด้วย เพราะว่าน้ำยาเช็ดคราบน้ำตาแมวเปอร์เซียขวดมันเล็กนิดเดียวแต่ราคาไม่ธรรมดาเลย ใครทำให้ขวดใหญ่เท่าขวดโค๊กลิตรแล้วราคาเท่ากันจะรีบตามไปซื้อเก็บไว้สัก 10 โหล
การเลี้ยง ลูกแมวเปอร์เซีย
การเลี้ยง ลูกแมวเปอร์เซีย การที่แม่แมวเปอร์เซียร์ไม่เลี้ยงหรือไม่สามารถเลี้ยงลูกแมวเปอร์เซียหรือ
ลูกแมวเปอร์เซียกำพร้าแม่ มันมีความจำเป็นจะต้องมีตารางการให้อาหารที่เหมาะสม การขับถ่าย การเล่นและ
การนอนหลับต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ดังนั้นการเลี้ยงดูลูกแมวเปอร์เซียที่ดีต้องคำนึงถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
1. โภชนาการและการหย่านม
2. สุขอนามัย
3.อุณภูมิและความชื้น
4.การป้องกันโรค
5.การบำรุงและทำให้เข้ากับสังคม
ลูกแมวเปอร์เซีย ที่สุขภาพดีจะมีร่างกายที่จ้ำม่ำแข็งแรง มีชีวิตชีวา หลับนาน ร้องเก่งเมื่อหิว เมื่อถูกกระตุ้นโดยการเลียของ แม่แมว มันจะพยายามส่ายหัวหาเต้านมแม่พร้อมทั้งมีขาหน้าและขาหลังที่แข็งแรงในการพยุงตัวเพื่อยึดที่ในการดูดนมแม่ ลูกแมวเปอร์เซียร์ ที่สุขภาพไม่ดีจะมีกล้ามเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ ร้องบ่อยถ้าไม่ช่วยเหลือ อ่อนแอ ซึมเศร้า เฉื่อยชาไม่ยอมกินนมเองหรือพยายามกินแต่ก็ปล่อยหัวนมอย่างรวดเร็ว หรือเมื่อพยายามช่วยจับหัวไปจ่อที่หัวนมแม่แมวเข้ากับปากลูกแมว มันไม่สนองตอบถ้าไม่หาวิธีป้อนนมผ่านสายเข้ากระเพาะ แน่นอนมันก็ค่อยๆเหี่ยวเฉาตายไปเองภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือ 2-3 วัน
การให้อาหารและการหย่านม ลูก แมวเปอร์เซียจำเป็นอย่างยิ่งที่จะได้รับน้ำนมน้ำเหลืองใน 12 ชั่วโมงแรกหลังจากคลอด ลูกแมวเปอร์เซียร์ จะดูดซึม ภูมิคุ้มกันจากน้ำนมน้ำเหลืองได้ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกนับจากคลอด ถ้าลูกแมวเปอร์เซีย ยัง ไม่ยอมดูดนมเอง ให้พยายามจับหัว ลูกแมวเปอร์เซีย จ่อที่หัวนมแม่ แมวเปร์เซีย ปรกติแล้วมันจะฝืนพอสมควรแต่ในที่สุดแล้วมันก็จะสามารถดูดนมได้เอง ผู้เลี้ยงต้องเฝ้าดูอย่างระมัดระวังในช่วงเวลานี้จนกว่าเขาจะสามารถดูดนมได้เอง ในกรณีที่ แม่แมวเปอร์เซียร์ ไม่สามารถเลี้ยงดูลูก แมวเปอร์เซีย ได้ ลูกแมวเปอร์เซีย ต้องดูดนมจากขวดหรือหลอดหยด ตามแต่จะหาได้ การให้อาหารแบบหลอดแก่ ลูกแมวเปอร์เซีย ผู้ให้ต้องได้รับการฝึกอย่างดี เพราะอาหาร อาจเข้าสู่ปอด อย่างไม่ตั้งใจทำให้หมดสติ การให้อาหารแบบหลอดจึงเสี่ยงมาก อนุญาตให้ ใช้เฉพาะในลูก แมวเปอร์เซีย อ่อนแอซึ่งต้องอยู่ภายใต้การแนะนำของแพทย์ หลอดป้อนนม จะเป็นสายยางยาวๆ ที่ปลายจะเป็นหลอดฉีดสำหรับใช้ดูดนมขึ้นมาเก็บการกะระยะความยาว ของหลอดควรวัดจากปากไปจนถึงกลางลำตัวซึ่งเป็นตำแหน่งของกระเพาะอาหารพอดี ปรกติ ลูกแมวเปอร์เซีย ที่อ่อนแอถ้าได้น้ำนมทางหลอดซักครั้งแล้วพยายามจับให้ดูดนมแม่ด้วยแล้ว มันจะกลับมาแข็งแรงได้ หลังจากให้นมลูก แมวเปอร์เซีย ควรลูบหลังลูกแมวเปอร์เซียให้เรอ ระหว่างให้อาหารและหลังอาหาร โดยนำมันผาดไหล่ ให้ตัวตั้งตรงและตบหลังเบาๆ การให้น้ำ นมจากขวดหรือหลอดต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการปอดบวมหรือการสำลักน้ำนมได้ ที่สำคัญผู้เลี้ยงอย่าดีใจมากว่าลูกแมวดูดนมจากขวดหรือจากการป้อนได้ เพราะจากประสบการณ์ที่เจอมาโดยให้คนเลี้ยง เมื่อเห็นว่าลูกแมวดูดนมได้ก็ป้อนเข้าไปบ่อยๆจนท้องป่องปรากฎว่าไม่นานลูกแมวก็เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อถึงกินยาลดอาการท้องอืดก็ช่วยอะไรได้ไม่มากแล้วมันก็ร้องด้วยความเจ็บปวดถ้าช่วยไม่ทันก็ตายไปในอีกไม่ช้า เพราะฉะนั้นการป้อนนมต้องป้อนแบบระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง
ลูกแมวเปอร์เซีย ต้องให้แสงไฟตอนคลอดใหม่ๆหรือไม่ ก็ไม่เสมอไปที่จะต้องเอาหลอดไฟทำให้ร่างกายลูกแมวอบอุ่น เพราะว่าแม่แมวเปอร์เซียเองก็มีขนและอุณภูมิของร่างกายที่ทำให้ลูกแมวอบอุ่นได้ แม่แมวบางตัวจะพยายามนอนขดตัวเพื่อให้ลูกอบอุ่นที่สุด แต่ถ้าอากาศหนาวมากๆก็อาจจะจัดหลอดไฟ 60 แรงเทียนช่วยความอบอุ่นประมาณสัก 3-4 วันก็ได้ แต่ต้องระวังเรื่องไฟไหม้หรือช๊อตด้วย หลอดไฟมันก็ช่วยลูกแมวได้ในกรณีที่แม่แมวลุกไปทำธุระเช่นไปขับถ่ายหรือกินอาหาร ลูกแมวก็จะขาดความอบอุ่น ถ้ามีกันหลายๆตัวก็จะคลานมาขอดเกยกัน แต่ถ้ามีตัวเดียวก็น่าสงสารหน่อยดังนั้นถ้ามีลูกแมวตัวเดียวแสงไฟก็คงจะช่วยได้พอสมควร แต่ถ้าเห็นว่าอุณภูมิของห้องไม่หนาว การใช้แสงไฟก็ไม่ค่อยมีประโยชน์อะไรเท่าไร บางครั้งลูกแมวเปอร์เซียที่คลอดในขณะที่เจ้าของไม่อยู่บ้าน เมื่อเจ้าของกลับมาเห็นลูกแมวบางตัวก็ตัวเย็นมาก บางครั้งในห้องนั้นยังเปิดแอร์อีก แต่ลูกแมวตัวนั้นก็รอดมาได้และเติบโตอย่างแข็งแรงก็มีเยอะไป เหมือนธรรมชาติสั่งมาแล้วว่าต้องการให้ตัวไหนอยู่หรือไปภายในไม่กี่วันก็รู้แล้ว ดังนั้นลูกแมวเปอร์เซีย ถ้าตัวไหนแข็งแรง 90% ก็จะรอด แต่ถ้าตัวไหนไม่แข็งแรง มีแค่ 10% เท่านั้นที่รอด เพียง 3 วันเท่านั้นก็รู้ผลแล้วว่าจะรอดซักกี่ตัว
หัวนมของแม่แมวเปอร์เซีย ก็เป็นตัวกำหนดซะตากรรมของลูกแมวเปอร์เซีย มันเป็นธรรมชาติมากที่ลูกแมวเปอร์เซียร์ จะจดจำเต้านมแม่ที่มันดูดได้ แต่ก็จะเป็นข้อเสียได้และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกแมวเปอร์เซียที่คลอดลูกออกมาหลายๆตัวอาจจะมีการตายเกิดขึ้นได้ สาเหตุเพราะว่าหัวนมของแม่แมวเปอร์เซียมันไม่ได้มีน้ำนมดีทุกเต้าบางเต้ามันเป็นไตซึ่งถ้าลูกแมวไปดูดตรงเต้านี้ก็อาจจะทำให้ท้องเสียได้ หรือมีน้ำนมน้อยทำให้ลูกแมวเปอร์เซียได้รับนมไม่เต็มที่ซึ่งจะทำให้มันโตได้ไม่เต็มที่ หรือตรงเต้านั้นไม่มีน้ำนมทำให้ลูกแมวเปอร์เซียไปดูดเต้านี้ได้รับแต่ลมซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ และบางเต้าของแม่แมวเล็กบ้างใหญ่บ้าง ลูกแมวเปอร์เซียงับกินนมไม่สะดวก ถ้ามีลูกแมวเปอร์เซียเกิดออกมาหลายตัว ผู้เลี้ยงจะต้องสำรวจเต้านมแม่แมวเปอร์เซียเพื่อให้การกระจายการดูดนมเป็นไปอย่างทั่วถึงในช่วง 3 วันแรก และหมั่นสลับให้ดูดเต้าที่มีน้ำนมไหลมากที่สุดให้กับลูกแมวที่เราเห็นว่าตัวเล็กสุด เพราะว่าสุดท้ายแล้วลูกแมวเปอร์เซียก็จะแย่งกันดูดนมที่เต้าประจำของพวกมัน ให้สังเกตว่าตัวไหนที่เราจับไปให้ดูดนมที่เต้าไหนก็ได้แล้วมันไม่เลือกดูดหรือพูดกันง่ายๆก็คือมันดูดไม่เลือกเต้า ลูกแมวเปอร์เซียตัวนี้จะมีเปอร์เซ็นรอดตายสูง แต่ถ้าตัวไหนดูดเองไม่ค่อยเป็นหาเต้านมไม่ค่อยเก่ง จับไปจ่อตรงเต้านมแล้วยังไม่งับหัวนม ก็ขอให้เฝ้าอย่างใกล้ชิดเพราะเราจะเสียลูกแมวเปอร์เซียตัวนี้ไปได้ ถ้าเราสังเกตดีๆส่วนใหญ่ถ้าแม่แมวเปอร์เซียคลอดลูกออกมาไม่เกิน 3-4 ตัว เปอร์เซ็นการรอดตายของลูกแมวจะมีสูง เหมือนธรรมชาติจะบอกว่าตัวแข็งแรงที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอด การที่จะทำให้ลูกแมวเปอร์เซียมีอัตราการเสียชีวิตลดต่ำก็คือในช่วง 3 วันแรกของการคลอดที่จะต้องหมั่นเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดพยายามให้ดูดนมแม่ให้ได้ทุกตัว และให้สังเกตเลยว่าเต้านมไหนที่ลูกแมวเปอร์เซียแย่งกันดูดเยอะๆ ก็พยายามให้ตัวที่แย่งดูดไม่เก่งได้เป็นตัวที่ดูดบ้างและให้ตัวที่ดูดนมเก่งไปดูดที่เต้าอื่นเพื่อกระตุ้นเต้านั้นๆไปในตัว พยายามบีบนมทุกเต้าดูเพื่อดูว่าแต่ละเต้ามีนมหรือเปล่าเต้าไหนที่น้ำนมเยอะเวลาบีบเบาๆมันจะมีน้ำนมออกมาเลย และการกระตุ้นเต้าของแม่แมวเปอร์เซียก็ทำได้โดยการเอาสำลีจุ่มน้ำอุ่นแล้วไปคลึงๆบริเวณเต้านมก็จะช่วยกระตุ้นได้โดยเฉพาะเต้าที่มันเป็นไตแข็ง
การเตรียมตัวนำลูกแมวพันธุ์เปอร์เซียไปเลี้ยง
การเตรียมตัวนำลูกแมวพันธุ์เปอร์เซียไปเลี้ยง
หลายคคน มักจะเป็นคนเลี้ยงประเภทมือใหม่หัดขับใจรักอยากได้น้องแมว
ไปกอดไปเล่นเห็นว่าแมวน่ารักขนปุกปุย น่าตาหน้าเกลียดน่าชังแล้วด้วยความไม่ประสีประสา
อะไรก็รีบซื้อ ลูกแมวไปปรากฏว่าบางคนก็โชคดีสามารถเลี้ยงจนโตสมปรารถนา บางคนก็มานั่ง
ร้องไห้เพราะว่า ลูกแมวเปอร์เซีย ที่ตัวเองรัก จากไป
การเลี้ยงลูก แมวเปอร์เซีย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเกินไป หรือยากเกินไปสำหรับคนที่ไม่เคยเลี้ยง แมวเปอร์เซีย บางคนที่คุยด้วยก็บอกว่าจะเลี้ยงมันเหมือน เลี้ยงแมว ที่บ้าน คือเช้าๆให้กินข้าวคลุกปลาทู แล้วปล่อยออกนอกบ้านไปขี้บนหลังคาบ้านเพื่อนบ้าน รับรองถ้าไปบอกวิธีการเลี้ยงแบบนี้กับ ฟาร์มแมวเปอร์เซีย ที่ดังๆดู ให้ราคาเขาเท่าไรเขาอาจจะไม่ขายแมวให้เรา แต่ถ้าซื้อมาตัวละไม่กี่ร้อยบาทหรือพันสองพันบาท ก็แล้วแต่ลูกค้าเอง
วิธีที่ง่ายๆสำหรับคนที่เบี้ยน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจ ก่อนอื่นให้พิจารณาดังต่อไปนี้
1. ต้องถามตัวเองก่อนว่าอยากเลี้ยงแมวทำไม เหงา แฟนทิ้ง เบื่อ อยากมีเพื่อนนอนกอดที่น่ารักเหมือนตุ๊กตา แฟนซื้อให้ ฯลฯ แต่ต้องตอบตัวเองข้อหนึ่งให้ได้ว่า พร้อมที่จะรับผิดชอบหรือดูแลเขาได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ ถ้าไปเที่ยวใครจะดูแลให้น้ำให้ท่า เวลาเขาป่วยจะมีเวลาพาเขาไปหาสัตวแพทย์ไหม มีเวลาแปรงขนให้ไหม มีเวลาโกยอุจจาระในกระบะทรายไหม ทนกลิ่นเหม็นตอนเขาถ่ายได้ไหม กล้าอาบน้ำไหม(บางคนงงว่า แมวต้องอาบน้ำด้วยเหรอ) ฯลฯ สรุปว่าใจพร้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เงินก็พร้อมคนข้างเคียงก็ไม่ว่าไร สาวๆคนไหนที่มีหนุ่มๆมาจีบและอยากได้น้องแมวมาเลี้ยงอาจจะขอของขัวญวันเกิดเป็นน้องแมวพันธุ์เปอร์เซียก็ได้ ลูกค้าของพั้นช์แคท หลายคนก็ใช้วิธีนี้กันไม่ต้องซื้อเองแจ่มไปเลย
2. สถานที่เลี้ยงก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาด้วย แต่ การเลี้ยงแมวพันธุ์เปอร์เซีย ใช้พื้นที่ไม่มากนัก ในคอนโดมิเนียมก็สามารถเลี้ยงเขาได้อย่างสบาย บางคนก็ชอบนอนกับแมวเลยก็มี อย่างนี้ก็ต้องหมั่นหวีขนให้เขาทุกวัน แมวขนยาว ต้องระวังไม่ให้ขนพันกันเป็นก้อน อย่าพยายามให้เขาอยู่ในที่อับชื้น เช่นห้องน้ำ เดี๋ยว เชื้อรา จะถามหาเอา ถ้ามีหน้าต่างรับแสงแดดได้ก็ยิ่งดี เพราะฉะนั้นเรื่องสถานที่การเลี้ยงแมวจึงไม่ค่อยซีเรียสมากเหมือนการเลี้ยงสุนัข แมวเปอร์เซีย จะไม่ค่อยโวยวายและเสียงดังมาก เพียงแต่ระวังของจะตกแตกได้เพราะความซนของ แมว เอง
3. กระบะทราย ถ้า แมว ยังเล็กๆอยู่ก็ให้ใช้กระบะทรายเล็กๆ หรือมีบางคนใช้วิธีที่ประหยัดโดยให้ฉีกหนังสือพิมพ์เป็นชิ้นยาวๆเล็กๆใส่ในกระบะพอประมาณ ก็สามารถให้ แมว ตัวโปรดขับถ่ายได้อย่างสบาย ฝุ่นจากทรายแมวก็ไม่มี กลิ่นก็ไม่มาก ข้อดีคือเหมาะกับแมวเด็กๆ 2-4 เดือน เพราะว่าการขับถ่ายยังไม่เยอะมาก แต่เมื่อแมวโตมากขึ้นกินมากขึ้น ควารหาซื้อทรายแมวมาแทนเพราะว่าจะกำจัดกลิ่นได้ดีกว่าและสะดวกในการกำจัด แมวเล็กๆบางตัวที่ไม่คุ้นเคยกับทรายก็จะกินทรายเข้าไป บางตัวก็คายทิ้ง บางตัวก็กินเข้าไปแล้วมักจะติดที่กะพุงแก้ม ถ้าตัวไหนกินเข้าไปเยอะๆอาจจะตายได้ วิธีง่ายๆที่จะช่วยแมวตัวเล็กๆให้คุ้นเคยกับ ทรายแมว โดยการจับแมวให้อยู่บน กระบะทราย แล้วให้สังเกตว่าแมวกินทรายเข้าไปหรือเปล่า ถ้ากินเข้าไปให้รีบจับออกมาแล้วใช้มือง้างปากแมวพยายามนำเอาทรายที่ ลูกแมว กินเข้าไปออกมา แล้วปล่อยเข้าไปในกระบะทรายใหม่ ทำอย่างนี้ซัก 2-3 ครั้ง ลูกแมว ก็จะเลิกกินเอง ปรกติแล้วเขาจะรู้เองโดยธรรมชาติอยู่แล้วว่ามันกินไม่ได้ และพยายามจะคายออกมา จึงเป็นหน้าที่ของคนเลี้ยงที่จะต้องดูแลโดยใกล้ชิดในช่วงแรก แต่โดยปรกติแล้ว ลูกแมวของ พั้นช์แคททุกตัวก่อนจะไปอยู่บ้านใหม่จะถูกฝึกให้ขับถ่ายในกระบะทราย จึงไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนักเวลาย้ายบ้านใหม่
4. กระบอกน้ำ การใช้ กระบอกน้ำ ให้ แมวเลียน้ำเองจากกระบอก ดูเหมือนว่าจะทรมานสัตว์ แต่จริงๆแล้วการมีกระบอกน้ำจะช่วยให้น้ำสะอาดตลอดเวลา สะดวกสำหรับคนเลี้ยง ไม่เหกเลอะบนพื้นง่าย(นอกจากกระบอกน้ำที่ลูกปืนมันไม่ค่อยดี) รวมทั้งไม่ต้องค่อยมาเติมน้ำบ่อยๆ และน้ำจะไม่ไปติดขนใต้คาง ลดอาการการเกิดขนสีขาวเปลี่ยนเป็นเหลืองได้ดี ลูกแมวของ พั้นช์แคททุกตัวจะถูกฝึกให้ดื่มน้ำจากกระบอกน้ำก่อนจะย้ายไปอยู่บ้านใหม่
5. กรงแมว บางคนอาจจะไม่จำเป็นก็ได้ถ้าจะให้แมวนอนด้วยกัน แต่ต้องระวังและมั่นใจว่า แมวโปรด ของเราได้รับการฝึกขับถ่ายเป็นที่เป็นทางเรียบร้อยแล้ว มิฉะนั้นแมวอาจจะขับถ่ายบนที่นอน ถ้าอยากให้อยู่เป็นที่เป็นทางก็ควรซื้อกรงให้เขา ควรจะเป็นกรงที่เป็น 2 ชั้นจะดีกว่ากรงชั้นเดียว กรงแมวก็หาซื้อได้ตามร้าน pet shop ทั่วๆไปหรือสั่งทำขึ้นมา ในกรงก็จะมีกระบอกน้ำและภาชนะใส่อาหาร
6. อาหาร ใครขยันทำอาหารให้แมวทุกมื้อก็ไม่ว่ากัน แต่ถ้าเป็นพวกเครื่องในหมูหรือปลาควรจะทำสุกก่อน แมวกินของสดก็ได้เช่นหัวใจไก่ เนื้อไก่ ไข่แดงดิบ อย่างไงก็ตามควรถ่ายพยาธิบ่อยๆก็แล้วกัน ส่วนพวกตับ ต้องระวังจะมีปัญหาท้องเสียตามมาควรทำให้สุกเสียก่อน การให้ นมแมว ไม่ควรใช้นมข้นหวานที่ขายในท้องตลาด ควรใช้นมแพะเป็นหลัก หาซื้อได้ตามร้าน Pet shop ทั่วๆไป เช่นในสวนลุมไนท์บาร์ซ่า เป็นต้น ถ้าหาไม่ได้จริงๆให้ซื้อนมแพะของฟาร์มโชคชัย ตามร้าน 7 ? eleven ขวดละ 20 บาท (แพงไปหน่อย) และถ้าต้องการความสะดวกในการให้อาหาร ควรให้เป็นอาหารเม็ด อาหารเม็ดจะมีสารอาหารครบถ้วนสมบูรณ์ ฟาร์มของพั้นช์แคท เราใช้ Royal Canin เป็นหลัก เป็นถุงฟาร์ม ถ้าใครจะให้ช่วยสั่งให้ยินดีเสมอ เพราะปรกติแล้วถุงใหญ่จะไม่มีขายในร้าน Pet Shop ลูกแมว ของพั้นช์แคท ทุกตัวกินอาหารเม็ดเป็นหมด
7. กรรไกรตัดเล็บแมว แชมพูอาบน้ำแมว แป้ง หวี สำลีเช็ดคาบน้ำตา น้ำยาเช็ดขอบดวงตาให้หาซื้อตามร้านขายยาก็ได้เอาชนิดอ่อนที่สุด หรือนำมาผสมน้ำเกลือล้างแผลก็ได้จะประหยัดกว่าการไปซื้อที่เป็นของเฉพาะแมวเป็นไหนๆ อย่าลืมน้ำยาเช็ดหูพร้อมไม้แคะหูด้วย
8. ตะกร้าใส่แมวเวลาพาไปหาหมอ หรือพาแมวไปเที่ยว พร้อมกับหาซื้อกระดาษซับฉี่(ใช้ของยี่ห้อLotus ก็ได้ถูกดี)จะเห็นว่าการเตรียมตัวที่จะ เลี้ยงแมวพันธุ์เปอร์เซีย ไม่ใช่ยุ่งยากกว่าที่คิด ถ้าท่านเลี้ยงเขาอย่างทนุถนอมรักเขา ท่านก็จะได้ความรักตอบแทนจากแมวตัวโปรดที่ท่านรักเช่นกัน
|
วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556
แมวอาเจียน
เมื่อเหมียว...อ้วก ? (Cat Magazine)
คอลัมน์ Cat Care โดย สพ.ญ.ปิยกาญ โรหตาคนี
เมื่อเจ้าเหมียวที่เราเลี้ยงไว้นั้นมีอาการอ้วกหรืออาเจียน อาจเกิดได้จากปัญหาเล็ก ๆ เช่น การกินอาหารเร็วเกินไป การกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป หรือการออกกำลังกายมากไปหลังกินอาหาร ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ไม่น่าวิตกกังวลนัก แต่นอกจากนั้นแล้ว อาการอาเจียนยังอาจบ่งบอกถึงปัญหาอื่น ๆ ที่น่าวิตกกังกวลได้เช่นเดียวกัน
อาการอาเจียน (Vomiting) คือการที่อาหารหรือสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวย้อนกลับผ่านทางหลอดอาหารแล้วมาออกทางปาก เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบทางเดินอาหารโดยตรง อย่างเช่น โรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารหรือลำไส้ แลอาจเป็นอาการที่เกี่ยวเนื่องมาจากโรคอื่น ๆ เช่น มะเร็ง ไตวาย เบาหวาน หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
ทั้งนี้ อาการอาเจียนเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง (กินระยะเวลายาวนาน 1-2 สัปดาห์) โดยสิ่งที่เราควรเฝ้าระวังในแมวที่มีอาการอาเจียนก็คือ
ภาวะร่างกายขาดน้ำ
อาการเบื่ออาหาร ท้องเสีย น้ำหนักลด การมีเลือดปนออกมากับสิ่งที่อาเจียน ฉะนั้น ถ้าแมวมีอาการอาเจียนหลาย ๆ ครั้ง จึงควรรีบพาไปหาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรักษาได้ทันท่วงที
สาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียน
1. สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร
ติเชื้อแบคทีเรียที่ทางเดินอาหาร
การเปลี่ยนอาหาร
การกินสิ่งแปลกปลอมเข้าไป เช่น ของเล่น พลาสติก
การเกิดลำไส้กลืนกัน
การมีพยาธิในทางเดินอาหาร
2. สาเหตุอื่น ๆ
ไตวาย
ตับวาย ถุงน้ำดีอักเสบ
โรคเบาหวาน
ภาวะมดลูกอักเสบ
ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาที่ใช้รักษาเกี่ยวกับมะเร็ง หรือยาปฏิชีวนะบางตัว เช่น เตตราชัยคลิน
ตับอ่อนอักเสบ
การติดเชื้อไวรัส
การได้รับสารพิษ
การวินิจฉัยสามารถทำได้จากประวัติ เช่น อาหารการกิน การฉีดวัคซีน และการตรวจร่างกายเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจอุจจาระ (เพื่อหาตัวปรสิต) การเอกซเรย์ช่องท้องทั้งแบบธรรมดา หรือ กลืนแป้งแล้วเอกซเรย์ เพื่อตรวจดูว่ามีการอุดตันทางเดินอาหารหรือมีสิ่งผิดปกติหรือไม่ การอัลตร้าซาวนด์ การส่องกล้อง และการผ่าตัดเพื่อสำรวจช่องท้อง เป็นต้น
การรักษา
กำจัดสาเหตุเหนี่ยวนำ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนอาหารก็ให้เปลี่ยนกลับมากินแบบเดิม และไม่ควรให้แมวกินต้นหญ้าหรือพืชใด ๆ
ควรงดอาหารและน้ำทางการกินจนกว่าอาการอาเจียนจะหยุด เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง แต่ให้น้ำเกลือเข้าทางใต้ผิวหนังหรือเส้นเลือดแทน และเมื่อหยุดอาเจียนแล้ว จึงค่อย ๆ เริ่มให้กินทีละเล็กทีละน้อย
อาการอาเจียนที่เกิดแบบเฉียบพลันและแมวยังคงไม่ซึม เช่น เกิดจากกินอาหารมากเกินไป กินเร็วเกินไป วิ่งเล่นหลังกินอาหารมากไป ให้รักษาตามอาการเท่านั้นก็เพียงพอ เช่น ให้น้ำเกลือเข้าใต้ผิวหนัง ให้ยาแก้อาเจียน แล้วเฝ้าสังเกตอาการต่อเนื่อง
ถ้าแมวมีอาการอาเจียน ร่วมกับอาการปวดท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร อาจำเป็นต้องให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ให้ยาฆ่าเชื้อ ยาแก้อาเจียนและอื่น ๆ ตามเหมาะสม พร้อมทั้งต้องคอยสังเกตอาการต่องเนื่องใน 24 ชั่วโมง และหาสาเหตุที่แท้จริงของการอาเจียนให้ได้เพื่อรักษาต่อไป
วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2556
เบอร์ติดต่อที่ควรรู้เพื่อน้องแมว
โรงพยาบาลสัตว์
เขตสะพานสูง
โรงพยาบาลสัตว์ สุวรรณชาด สะพานสูง เบอร์ติดต่อ : 02 729 5706-8
เขตพญาไท
โรงพยาบาลสัตว์อารีย์ เบอร์ติดต่อ : 081-345-3634, 087-674-8947
คลินิกนกและสัตว์ป่า 356/7 ถ.ศรีอยุธยา ราชเทวี พญาไท กรุงเทพฯ 10400 น.สพ.ปานเทพ รัตนากร เบอร์ติดต่อ : 0-2245-4946
เขตราชเทวี
โรงพยาบาลสัตว์ ด็อกเตอร์ เพ็ท 1 69/14-16 ซ.ปทุมวันรีสอร์ท พญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 สพ.ญ. วจีรัตน์ กังสะนันท์ เบอร์ติดต่อ : 0-2251-1338
เขตปทุมวัน
โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ถ.อังรีดุนังค์ )
ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทรศัพท์ 0-2218-9750-1 [เปิด 24 ช.ม]
เขตบางเขน
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน เบอร์ติดต่อ : 02 942 8756-59 [แผนกฉุกเฉินเปิด 24 ช.ม]
โรงพยาบาลสัตว์ สะพานใหม่ เบอร์ติดต่อ : 02 972 4737
เขตหลักสี่
โรงพยาบาลสัตว์ บ้านหมอรักหมา แจ้งวัฒนะ เบอร์ติดต่อ : 02 575 3370-1
เขตจตุจักร
ศูนย์สุขภาพสัตว์เลี้ยง เพ็ทมอลล์ 2 13 ถ.เทศบาลสงเคราะห์ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 สพ.ญ.วิภาวดี ปฐมรพีพงศ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2954-2220
สัตวแพทย์ 4 โพลีคลินิค 5-5/1 ถ.เทศบาลรังสฤษเหนือ ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 สพ.ญ.อารยา ผลสุวรรณ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2591-3995
เขตคันนายาว
คลินิกรักษาสัตว์ เพ็ทแคร์ เซ็นเตอร์ 66/14 ถ.รามอินทรา กม.7 เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230 น.สพ.สง่า บุญโสด เบอร์ติดต่อ : 0-2945-8509,0-1820-4465
เขตบางซื่อ
โรงพยาบาลสัตว์ ไกเซอร์ บางซื่อ เบอร์ติดต่อ : 02 585 7648
เขตธนบุรี
โรงพยาบาลสัตว์ ธนบุรี บุคคโล เบอร์ติดต่อ : 02 468 3472
โรงพยาบาลสัตว์ ประชาราษฎร์ เบอร์ติดต่อ : 02 527 5225, 02 527 5252
เขตบางขุนเทียน
โรงพยาบาลสัตว์เลี้ยง บางบอน เบอร์ติดต่อ : 02 895 3048-9
เขตบางบอน
โรงพยาบาลสัตว์ฮาเลลูยา 114/187-188 หมู่4 ซอยธนาคารกสิกรไทย ถ.วงแหวนรอบนอก บางบอน กรุงเทพฯ 10150 น.สพ.พรชัย ชัยฤทธิ์เลิศ เบอร์ติดต่อ : 0-2899-7070-1
เขตราษฎร์บูรณะ
โรงพยาบาลสัตว์ บางปะกอก เบอร์ติดต่อ : 02 428 2417
โรงพยาบาลสัตว์ สุขสวัสดิ์ เบอร์ติดต่อ : 02 428 1443-4
เขตบางพลัด
โรงพยาบาลสัตว์ พีเอส บางพลัด เบอร์ติดต่อ : 02 435 9129, 02 435 5980, 02 881 0235-6
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาปิ่นเกล้า โทร.0-2433-7550 [เปิด 24 ช.ม]
เขตบางกอกใหญ่
โรงพยาบาลสัตว์ มหานคร ท่าพระ เบอร์ติดต่อ : 02 891 8377
เขตบางกอกน้อย
โรงพยาบาลสัตว์สวนหลวงสัตวแพทย์ อยู่ตรงแยกศิริราชเลย มีเครื่องเอ๊กซเรย์
(ถ้าไปตอนกลางคืนให้กดกริ่งหน้าประตูนะคะ) เบอร์ติดต่อ : 0 28660260, 0 28662009[เปิด 24 ช.ม]
เขตคลองสาน
ศูนย์สุขภาพสัตว์เลี้ยง เพ็ทมอลล์ 1 124/17 ถ.กรุงธนบุรี บางลำพูล่าง คลองสาน กรุงเทพฯ 10600 น.สพ.ธานินทร์ สันติวัฒนธรรม เบอร์ติดต่อ : 0-2860-9316
เขตทวีวัฒนา
พุทธมณฑลรักษาสัตว์ 81/82 หมู่9 ตลาดพุทธมณฑล ถ.บรมราชชนนี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 น.สพ.มงคล เทพเกษตรกุล เบอร์ติดต่อ : 0-2441-9650,0-1636-8486
เขตหนองแขม
โรงพยาบาลสัตว์ หนองแขม เบอร์ติดต่อ : 02 808 3420-1
โรงพยาบาลสัตว์ ด็อกเตอร์ เพ็ท 2 88/8 ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700 น.สพ.สมเกียรติ กังสะนันท์ เบอร์ติดต่อ : 0-2424-1305,0-2424-2927
เขตลาดพร้าว
โรงพยาบาลสัตว์ ลาดปลาเค้า เบอร์ติดต่อ : 02 570 6060, 02 570 5939
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาลาดพร้าว โทร.0-2934-1407-9 [เปิด 24 ช.ม]
เขตบางกะปิ
โรงพยาบาลสัตว์ แฮปปี้แลนด์ เบอร์ติดต่อ : 02 378 0992
โรงพยาบาลสัตว์ บางกะปิ เบอร์ติดต่อ : 02 374 6349
คลินิกสัตวแพทย์ กม.8 39/171 ถ.รามอินทรา กม.8 จระเข้บัว บางกะปิ กรุงเทพฯ 10230 น.สพ.อนุวัฒน์ ศีตะมโนชญ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2510-5439 [เปิด 24 ช.ม]
คลินิกสัตวแพทย์ไดร์ฟอิน เบอร์ติดต่อ : 2646-2648 ซ.ลาดพร้าว 128/2 เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 สพ.ญ.นุศรา ไพฑูรย์วงศ์วีระ เบอร์ติดต่อ : 0-2378-0318
โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น พี 213-215 ศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์ ลาดพร้าว คลองจั่น บางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 น.สพ.พัฒนา รัตนชินกร เบอร์ติดต่อ : 0-2377-3764
เขตบึงกุ่ม
โรงพยาบาลบ้านสัตว์เลี้ยง 1 สุขาภิบาล 1 เบอร์ติดต่อ : 02 944 8715
เขตวังทองหลาง
โรงพยาบาลสัตว์ ศรีวราทาวน์อินทาวน์ เบอร์ติดต่อ : 02 530 7636-8 [เปิด 24 ช.ม]
เขตตลิ่งชัน
โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน 37/7 ถ.บรมราชชนนี กม.3 แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชั่น กรุงเทพฯ สพ.ญ.สมบูรณ์ สุธีรัตน์ เบอร์ติดต่อ : 0-2887-8322-23
เขตพระโขนง
โรงพยาบาลสัตว์ เทพารักษ์ เบอร์ติดต่อ : 02 393 7351, 02 393 7560
โรงพยาบาลสัตว์ นครินทร์ เบอร์ติดต่อ : 02 321 4468, 02 321 9830
เขตสวนหลวง
โรงพยาบาลสัตว์ พัฒนาการ 30 เบอร์ติดต่อ : 02 319 2360, 02 719 5925
โรงพยาบาลสัตว์ อ่อนนุช เบอร์ติดต่อ : 02 311 1055, 02 311 6719
โรงพยาบาลสัตว์สวนสัตว์ 709/52-53 ซ.อ่อนนุช 7/1 ถ.สุขุมวิท 77 เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250 สพ.ญ.ดร.ศิรยา ชื่นกำไร เบอร์ติดต่อ : 0-2331-8146
เขตประเวศ
โรงพยาบาลสัตว์ โรจน์นิรันดร์ 32/24 ปากซอยอุดมสุข 60 (สุขุมวิท103) ถ.สุขุมวิท หนองบอน ประเวศ กรุงเทพฯ 10250 น.สพ.เกียรติศักดิ์ โรจน์นิรันดร์ 0-2746-5370-1
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาศรีนครินทร์ โทร.0-2398-4314-5 [เปิด 24 ช.ม]
เขตวัฒนา
โรงพยาบาลสัตว์ เจริญสุข 167 ซ.เจริญสุข เอกมัย ซ.5 สุขุมวิท 63 คลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 น.สพ.เศรษฐพร เกษมสุวรรณ เบอร์ติดต่อ : 0-2391-9707 , 02 391 6469
โรงพยาบาลสัตว์ เอกมัย 916/23 สุขุมวิท55 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สพ.ญ.สุธาสนาน เจียรพร เบอร์ติดต่อ : 0-2390-0002
โรงพยาบาลสัตว์สุขุมวิท49 120/1-2 ถ.สุขุมวิท49 เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 สพ.ญ.เกศินี ไกรครุฑรี เบอร์ติดต่อ : 0-2392-0291
เพ็ท ไดเร็ค คลินิก ห้อง 3A เรคเกตคลับ ซ.พร้อมศรี 1 สุขุมวิท39 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ สพ.ญ.ศิรินรัตน์ ศิลปานันทกุล 0-2712-8080-2,0-1313-5087
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สุขุมวิท 55 โทร. 0-2712-6301 ต่อ 200 [เปิด 24 ช.ม]
เขตดุสิต
โรงพยาบาลสัตว์ ถ. สุโขทัย สวนจิตร เบอร์ติดต่อ : 02 243 0587
โรงพยาบาลสัตว์ ราชวิถี เบอร์ติดต่อ : 02 243 5011
เขตห้วยขวาง
คลินิกรักษาสัตว์ จัสโก้ สยามจัสโก้ รัชดา ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 น.สพ. สุรพงษ์ อาทิตย์วงศ์ เบอร์ติดต่อ : 0-2548-4694-8 ต่อ 225
เขตบางนา
โรงพยาบาลสัตว์บางนา : 232/2 ถนนบางนา-ตราด กม.3
(ซอยทางเข้าตรง Big C บางนา ขับไปเรื่อยๆ ร้านอยู่ทางขวามือ)
เบอร์ติดต่อ : 02-744-1663 / 02-744-1899 [เปิด 24 ช.ม]
เขตลาดกระบัง
สถานพยาบาลสัตว์ บ้านสัตวแพทย์ 19/3 หมู่ 1 ตรงข้ามตลาดหัวตะเข้ ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 น.สพ.ศักดิ์ชัย เรือนเพชร เบอร์ติดต่อ : 0-2739-0899, 0-1689-4742
เขตมีนบุรี
เพ็ทเฟรนด์ รักษาสัตว์ 55 หมู่17 ซอยหน้าห้างโลตัส ถ.สุวินทวงศ์ เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ 10510 น.สพ.ศักดิ์ชัย เรือนเพชร เบอร์ติดต่อ : 0-2540-6920, 0-1689-4742
สมุทรปราการ
โรงพยาบาลสัตว์ บางพลี เบอร์ติดต่อ : 02 752 2223, 02 7522386
โรงพยาบาลบ้านสัตว์เลี้ยง 2 สำโรงเหนือ เบอร์ติดต่อ : 02 759 1553
นนทบุรี
โรงพยาบาลสัตว์ กรุงเทพ-นนทบุรี เบอร์ติดต่อ : 02 965 1442-3, 02 642 1299
โรงพยาบาลสัตว์ ไกเซอร์ 2 รัตนธิเบศร์ เบอร์ติดต่อ : 02 594 3308
โรงพยาบาลสัตว์ แมวหมาร่าเริง เบอร์ติดต่อ : 02 9644288-9
โรงพยาบาลสัตว์ รัตนาธิเบศร์ 103/3-4 เชิงสะพานพระนั่งเกล้า ถ.รัตนาธิเบศร์ ไทรม้า เมือง นนทบุรี 11000 น.สพ.พิเศษ อัศวหน้าเมือง เบอร์ติดต่อ : 0-2921-8103 [เปิด 24 ช.ม]
LOVELY PET 68/118 ถ.รัตนาธิเบศร์ บางกระสอ เมือง นนทบุรี 11000 น.สพ.สรัช คงเดชเกษมสุข เบอร์ติดต่อ : 0-2969-8486
คลีนิคบ้านหมอรักหมา สาขาแจ้งวัฒนะ เปิดบริการ 24 ชม. เบอร์ติดต่อ : 02-575-3370-1 [เปิด 24 ช.ม]
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขาแจ้งวัฒนะ โทร.0-2962-7028 [เปิด 24 ช.ม]
ปทุมธานี
โรงพยาบาลสัตว์ ปทุมธานี เบอร์ติดต่อ : 02 975 7272-8
โรงพยาบาลสัตว์ มาลีวัลย์ คลอง 2 เบอร์ติดต่อ : 02 996 2662
คลินิก และคลินิกพิเศษ
a. บริการตรวจสุขภาพ
ที่ ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน
1. หน่วยระบบสืบพันธุ์ วันจันทร์ และ พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 15.30 น.
2. หน่วยโรคระบบประสาท วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 13.00 – 15.30 น.
3. หน่วยโรคหัวใจ วันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
4. หน่วยโรคผิวหนัง วันอังคาร เวลา 08.30 – 15.30 น.
วันพุธ พฤหัสบดี และ ศุกร์ 09.00 – 12.00 น.
5. หน่วยโรคตา วันอังคาร เวลา 08.30-15.30 น. วันพุธ และ ศุกร์ 08.30 – 12.00 น.
6. หน่วยเนื้องอก วันจันทร์ และ พุธ 09.00 12.00 น.
7. หน่วยกล้องส่องตรวจ วันพุธ เวลา 13.00 – 15.30 น. วันพฤหัสบดี 09.00 – 15.30 น.
8. หน่วยโรคไตและขับถ่ายปัสสาวะ วันจันทร์ , พุธ และ ศุกร์ เวลา 09.00 – 12.00 น.
9. หน่วยสัตว์เลี้ยงพิเศษ วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วันศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
10. หน่วยสัตว์น้ำ วันอังคาร และ พฤหัสบดี เวลา 09.00 – 12.00 น.
11. หน่วยโรคแมว วันอังคาร เวลา 08.30 – 15.30 น. วันพฤหัสบดี เวลา 09.00 – 12.00 น.
12. หน่วยธนาคารเลือด วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วันศุกร์ และเสาร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
13. หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- หน่วยฝังเข็ม วันจันทร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
- หน่วยธาราบำบัด วันจันทร์ ถึง พฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น. วัน ศุกร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.
* หมายเหตุ ฝ่ายคลีนิคพิเศษเปิดบริการช่วงวันหยุดราชการ และวันนักขัตฤกษ์
b. หน่วยคลินิกเฉพาะทาง
คลินิกโรคหัวใจ วันจันทร์-ศุกร์ 09.00-11.00 น.
คลินิกโรคตา วันอังคาร, พุธ 08.30-15.30 น. วันศุกร์ 08.30-11.00 น.
คลินิกโรคระบบสืบพันธุ์ วันจันทร์และพฤหัสบดี 09.00-15.30
คลินิกโรคผิวหนัง วันอังคาร,พุธและพฤหัสบดี 09.00-11.00 น.
คลินิกทันตกรรม วันอังคารและพุธ 08.30-15.30 น.
คลินิกโรคระบบประสาท วันจันทร์-ศุกร์ 13.00-15.30 น.
คลินิกฝังเข็ม วันศุกร์ 09.00-11.30 น.
คลินิกกล้องส่องตรวจภายใน วันจันทร์ 09.00-15.30 น.
วันพฤหัสบดี 13.00-15.30 น.
c. คลินิกทั่วไป
หน่วยสัตว์ป่วยนอก : ให้บริการด้านการตรวจรักษาโรคทั่วไป ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงดู และการรักษาสัตว์ทั่วไป รวมทั้งการป้องกันโรค
หน่วยฉุกเฉินและสัตว์ป่วยวิกฤต : ให้บริการด้านการตรวจสัตว์ป่วยภาวะฉุกเฉิน ภาวะวิกฤตและการปฏิบัติการกู้ชีพ
หน่วยรังสีวินิจฉัย : ให้บริการถ่ายภาพทางรังสีวิทยา เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำขึ้น
หน่วยศัลยกรรม : ให้บริการผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อน (Soft tissue) ออร์โธปิดิกส์ (ศัลกรรมกระดูก) และการผ่าตัดทางระบบประสาท
หน่วยสัตว์ป่วยใน : ให้บริการรับฝากสัตว์ป่วยที่จำเป็นต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด กรณีที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สามารถดูแลได้ด้วยตนเอง แต่การรับจำนวนจำกัดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของนายสัตวแพทย์
ศูนย์กิจกรรมสัตว์เลี้ยง Vet. Place : ให้บริการเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจรได้แก่ Pet shop, Grooming, หนังสือเกี่ยวกับสัตว์บริการรถรับ-ส่งสัตว์รวมถึง ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และมุมกาแฟ
เวลาทำการ
วันจันทร์ถึงพฤหัสบดี เวลา 08.30 – 15.30 น.
วันศุกร์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.30 – 11.00 น.
ทุกวัน เวลา 18.00 – 20.00 น.
โทร. 029428456-59 ฉุกเฉินให้บริการ 24 ชม.
Source : คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)